รุมต้านผังเมืองภูเก็ต บีบคอนโด สร้างที่จอดรถ100%
วันที่ : 3 กรกฎาคม 2562
บิ๊กอสังหาฯ-5สมาคม อาทิ ท่องเที่ยวโรงแรม หอการค้า อุตสาหกรรม รุมสับผังเมืองใหม่ภูเก็ต บีบสร้างที่จอดรถจำกัดความสูง พื้นที่รอบป่าตอง ถูกปรับลดจากพื้นที่สีเหลือง เป็น เกษตรกรรมสกัดการพัฒนา ขณะราคาที่ดินแพงโด่ง ไร่ละ 200-300 ล้าน
บิ๊กอสังหาฯ-5สมาคม อาทิ ท่องเที่ยวโรงแรม หอการค้า อุตสาหกรรม รุมสับผังเมืองใหม่ภูเก็ต บีบสร้างที่จอดรถจำกัดความสูง พื้นที่รอบป่าตอง ถูกปรับลดจากพื้นที่สีเหลือง เป็น เกษตรกรรมสกัดการพัฒนา ขณะราคาที่ดินแพงโด่ง ไร่ละ 200-300 ล้าน
การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนเกาะภูเก็ตขยายตัวอย่างรวดเร็วตามการเติบโตของนักท่องเที่ยว ทั้งไทยและต่างชาติ แม้จะสร้างรายได้เข้าพื้นที่ แต่อีกด้านกลับสร้างผลกระทบ จากการรุกรานทรัพยากรทางธรรมชาติ ปัญหาการจราจรคับคั่ง ไร้ระเบียบ อีกทั้งปัญหาขยะ น้ำเสีย สร้างผลกระทบตามมา จึงตั้งกฎระเบียบข้อบังคับมากมาย ทั้งประกาศจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กฎหมายควบคุมอาคาร ผังเมือง
ล่าสุด กรมโยธาธิการและผังเมือง ปรับปรุงผังเมือง รวมจังหวัดภูเก็ต ออกมา มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งแหล่งข่าวจาก หอการค้าจังหวัดภูเก็ตระบุว่า ผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต ฉบับใหม่ มีข้อดี คือการยกระดับ ภูเก็ตให้เป็นสมาร์ทซิตี มีความเป็นระเบียบ สร้างตึกสูงได้ในทำเลเศรษฐกิจใจกลางเมือง เทียบชั้นประเทศสิงคโปร์ เพื่อดึงนักท่องเที่ยวนักลงทุนเข้าพื้นที่ โดยเฉพาะการนำสัดส่วนพื้นที่ก่อสร้างอาคารต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) และพื้นที่ว่าง เหมือนผังเมืองรวมกรุงเทพ มหานครมาใช้ ไม่ให้เกิดความหนาแน่น ป้องกันการขยายตัวของเมืองไปในทิศทางที่บิดเบี้ยว ไร้การควบคุม เบื้องต้นการสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ต้องจัดทำพื้นที่จอดรถ 100% จากที่ผ่านมา กำหนดให้ จัดพื้นที่จอดรถเพียง 30% จึงมีพื้นที่อีกมากที่จะซอยเป็นห้องขายเชิงพาณิชย์ ประเด็นนี้จึงมีบริษัทอสังหาฯรายใหญ่จากส่วนกลางรวมตัวกันคัดค้าน โดยอ้างว่าราคาที่ดินแพง จากราคาคอนโดมิเนียมที่ขายปัจจุบัน 1.3 ล้านบาทต่อหน่วย อนาคตราคาอาจขยับเป็น 2 ล้านบาทต่อหน่วย เนื่องจากต้องนำพื้นที่ขายไปสร้างที่จอดรถ
"ยกตัวอย่าง คอนโดมิเนียม 400 ห้อง ต่อไปต้องจัดที่จอดรถ 400 คัน ทำให้พื้นที่ขายหายไปกลายเป็นที่จอดรถ ต่างจากผัง เมือง เดิม ที่กำหนดให้มีที่จอดรถเพียง 30% 400 ห้องมีที่จอดรถ เพียง 120 คัน จึงเกิดปัญหาการแย่งชิงพื้นที่ ทำให้ทุกวันนี้ไหล่ทางตามท้องถอนกลายเป็นที่จอดรถ"
ขณะเดียวกัน ประกาศสิ่งแวดล้อมใหม่ กำหนดให้ทั้งเกาะสร้างสูงได้เพียง 23 เมตร หรือไม่เกิน 7-8 ชั้น แต่ต่อไป ภูเก็ต สามารถสร้างสูงได้ โดยเฉพาะย่านหนาแน่น ตามขนาดพื้นที่ และสัดส่วน FAR (สัดส่วนพื้นที่อาคารต่อพื้นที่ดิน) ทำให้ สามารถสร้างตึกได้สูง เฉลี่ย 45 เมตร กว่า 10 ชั้นมองเห็นวิวทะเล โดยเฉพาะโซนชุมชนหนาแน่น อย่างป่าตอง และตลอดแนวถนนเทพกระษัตรี ฯลฯ ขณะบางทำเลที่ ผู้ประกอบการไม่เห็นด้วย และต้องการขอปรับการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่ นั้นคือพื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่สีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) ซึ่งสามารถพัฒนา อาคารพาณิชย์ได้แต่กลับถูกปรับลดการใช้ที่ดินลงเป็นพื้นที่สีเขียวเกษตรกรรม (ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม) ทำให้คนที่ซื้อที่ดินมาในราคาแพงกลับไม่สามารถพัฒนาได้ แต่หากจะเร่งขออนุญาตก่อสร้างตามกฎหมายในปัจจุบัน เกรงว่าจะเกิดปัญหาล้นตลาด เพราะความรีบร้อน อาทิ พื้นที่รอบป่าตอง ทั้งที่ราคาที่ดินตกไร่ละ 200-300 ล้านบาท
ขณะ 5 สมาคม เอกชน ประกอบด้วย สมาคมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, สมาคมโรงแรม, สมาคมอุตสาหกรรม, สมาคมท่องเที่ยว และหอ การค้าจังหวัด รวมตัวคัดค้าน ผังเมืองภูเก็ต ที่กำหนดโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยระบุว่า จะสร้างผลกระทบต่อการลงทุน เนื่องจาก ที่ดินซึ่งเป็นต้นทุนหลัก มีราคาแพง โดยเฉพาะป่าตอง และเขตใจกลางเมืองภูเก็ต
นายบุญ ยงสกุล นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดภูเก็ต ย้ำว่า ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก จาก ผังเมืองฉบับใหม่บังคับใช้เนื่องจากหลายพื้นที่ถูกปรับลดจากพื้นที่สีเหลืองเป็นพื้นที่สีเขียว เกษตรกรรมรอบเมือง ป่าตอง ทั้งที่เป็นย่านอยู่อาศัยมีนักท่องเที่ยวให้ความนิยม
แหล่งข่าวจาก เทศบาลเมืองภูเก็ตยอมรับว่า เอกชนไม่พอใจผังเมืองฉบับปรับปรุงใหม่ เนื่องจากย่านเศรษฐกิจใจกลางเมืองภูเก็ต บริเวณวงเวียนม้าน้ำ ถูกจำกัดความสูงลงครึ่งหนึ่งจากเดิม ประกาศสวล.กำหนดให้สร้างได้ 60 เมตร แต่ผังเมืองใหม่ ซึ่งมีอำนาจมากกว่า ให้สร้างได้ไม่เกิน 30 เมตร และกำหนดสัดส่วนพื้นที่ว่างมากขึ้น
การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนเกาะภูเก็ตขยายตัวอย่างรวดเร็วตามการเติบโตของนักท่องเที่ยว ทั้งไทยและต่างชาติ แม้จะสร้างรายได้เข้าพื้นที่ แต่อีกด้านกลับสร้างผลกระทบ จากการรุกรานทรัพยากรทางธรรมชาติ ปัญหาการจราจรคับคั่ง ไร้ระเบียบ อีกทั้งปัญหาขยะ น้ำเสีย สร้างผลกระทบตามมา จึงตั้งกฎระเบียบข้อบังคับมากมาย ทั้งประกาศจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กฎหมายควบคุมอาคาร ผังเมือง
ล่าสุด กรมโยธาธิการและผังเมือง ปรับปรุงผังเมือง รวมจังหวัดภูเก็ต ออกมา มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งแหล่งข่าวจาก หอการค้าจังหวัดภูเก็ตระบุว่า ผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต ฉบับใหม่ มีข้อดี คือการยกระดับ ภูเก็ตให้เป็นสมาร์ทซิตี มีความเป็นระเบียบ สร้างตึกสูงได้ในทำเลเศรษฐกิจใจกลางเมือง เทียบชั้นประเทศสิงคโปร์ เพื่อดึงนักท่องเที่ยวนักลงทุนเข้าพื้นที่ โดยเฉพาะการนำสัดส่วนพื้นที่ก่อสร้างอาคารต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) และพื้นที่ว่าง เหมือนผังเมืองรวมกรุงเทพ มหานครมาใช้ ไม่ให้เกิดความหนาแน่น ป้องกันการขยายตัวของเมืองไปในทิศทางที่บิดเบี้ยว ไร้การควบคุม เบื้องต้นการสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ต้องจัดทำพื้นที่จอดรถ 100% จากที่ผ่านมา กำหนดให้ จัดพื้นที่จอดรถเพียง 30% จึงมีพื้นที่อีกมากที่จะซอยเป็นห้องขายเชิงพาณิชย์ ประเด็นนี้จึงมีบริษัทอสังหาฯรายใหญ่จากส่วนกลางรวมตัวกันคัดค้าน โดยอ้างว่าราคาที่ดินแพง จากราคาคอนโดมิเนียมที่ขายปัจจุบัน 1.3 ล้านบาทต่อหน่วย อนาคตราคาอาจขยับเป็น 2 ล้านบาทต่อหน่วย เนื่องจากต้องนำพื้นที่ขายไปสร้างที่จอดรถ
"ยกตัวอย่าง คอนโดมิเนียม 400 ห้อง ต่อไปต้องจัดที่จอดรถ 400 คัน ทำให้พื้นที่ขายหายไปกลายเป็นที่จอดรถ ต่างจากผัง เมือง เดิม ที่กำหนดให้มีที่จอดรถเพียง 30% 400 ห้องมีที่จอดรถ เพียง 120 คัน จึงเกิดปัญหาการแย่งชิงพื้นที่ ทำให้ทุกวันนี้ไหล่ทางตามท้องถอนกลายเป็นที่จอดรถ"
ขณะเดียวกัน ประกาศสิ่งแวดล้อมใหม่ กำหนดให้ทั้งเกาะสร้างสูงได้เพียง 23 เมตร หรือไม่เกิน 7-8 ชั้น แต่ต่อไป ภูเก็ต สามารถสร้างสูงได้ โดยเฉพาะย่านหนาแน่น ตามขนาดพื้นที่ และสัดส่วน FAR (สัดส่วนพื้นที่อาคารต่อพื้นที่ดิน) ทำให้ สามารถสร้างตึกได้สูง เฉลี่ย 45 เมตร กว่า 10 ชั้นมองเห็นวิวทะเล โดยเฉพาะโซนชุมชนหนาแน่น อย่างป่าตอง และตลอดแนวถนนเทพกระษัตรี ฯลฯ ขณะบางทำเลที่ ผู้ประกอบการไม่เห็นด้วย และต้องการขอปรับการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่ นั้นคือพื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่สีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) ซึ่งสามารถพัฒนา อาคารพาณิชย์ได้แต่กลับถูกปรับลดการใช้ที่ดินลงเป็นพื้นที่สีเขียวเกษตรกรรม (ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม) ทำให้คนที่ซื้อที่ดินมาในราคาแพงกลับไม่สามารถพัฒนาได้ แต่หากจะเร่งขออนุญาตก่อสร้างตามกฎหมายในปัจจุบัน เกรงว่าจะเกิดปัญหาล้นตลาด เพราะความรีบร้อน อาทิ พื้นที่รอบป่าตอง ทั้งที่ราคาที่ดินตกไร่ละ 200-300 ล้านบาท
ขณะ 5 สมาคม เอกชน ประกอบด้วย สมาคมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, สมาคมโรงแรม, สมาคมอุตสาหกรรม, สมาคมท่องเที่ยว และหอ การค้าจังหวัด รวมตัวคัดค้าน ผังเมืองภูเก็ต ที่กำหนดโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยระบุว่า จะสร้างผลกระทบต่อการลงทุน เนื่องจาก ที่ดินซึ่งเป็นต้นทุนหลัก มีราคาแพง โดยเฉพาะป่าตอง และเขตใจกลางเมืองภูเก็ต
นายบุญ ยงสกุล นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดภูเก็ต ย้ำว่า ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก จาก ผังเมืองฉบับใหม่บังคับใช้เนื่องจากหลายพื้นที่ถูกปรับลดจากพื้นที่สีเหลืองเป็นพื้นที่สีเขียว เกษตรกรรมรอบเมือง ป่าตอง ทั้งที่เป็นย่านอยู่อาศัยมีนักท่องเที่ยวให้ความนิยม
แหล่งข่าวจาก เทศบาลเมืองภูเก็ตยอมรับว่า เอกชนไม่พอใจผังเมืองฉบับปรับปรุงใหม่ เนื่องจากย่านเศรษฐกิจใจกลางเมืองภูเก็ต บริเวณวงเวียนม้าน้ำ ถูกจำกัดความสูงลงครึ่งหนึ่งจากเดิม ประกาศสวล.กำหนดให้สร้างได้ 60 เมตร แต่ผังเมืองใหม่ ซึ่งมีอำนาจมากกว่า ให้สร้างได้ไม่เกิน 30 เมตร และกำหนดสัดส่วนพื้นที่ว่างมากขึ้น
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ