ดันรถไฟสายใหม่ ไจก้า หนุน บางนา-สุวรรณภูมิ 2หมื่นล.
Loading

ดันรถไฟสายใหม่ ไจก้า หนุน บางนา-สุวรรณภูมิ 2หมื่นล.

วันที่ : 8 เมษายน 2562
นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยแผนแม่บทพัฒนารถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลว่า ทางรัฐบาลชุดนี้ได้เข้ามาพัฒนารถไฟฟ้าตั้งแต่แผนแม่บทพัฒนารถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่ 1 (M-MAP 1) โดยได้มีการก่อสร้างและทยอยเปิดใช้บริการเพื่อวางรากฐานให้ระบบขนส่งสาธารณะในเมืองหลวง อย่างไรก็ดี เชื่อว่า หากรัฐบาลชุดใหม่ที่เข้ามาจะพร้อม ขับเคลื่อนนโยบายด้านรถไฟฟ้า
          นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยแผนแม่บทพัฒนารถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลว่า ทางรัฐบาลชุดนี้ได้เข้ามาพัฒนารถไฟฟ้าตั้งแต่แผนแม่บทพัฒนารถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่ 1 (M-MAP 1) โดยได้มีการก่อสร้างและทยอยเปิดใช้บริการเพื่อวางรากฐานให้ระบบขนส่งสาธารณะในเมืองหลวง อย่างไรก็ดี เชื่อว่า หากรัฐบาลชุดใหม่ที่เข้ามาจะพร้อม ขับเคลื่อนนโยบายด้านรถไฟฟ้า
 
          ส่วนแผนแม่บทพัฒนารถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่ 2 หรือ M-Map 2 นอกจากจะมีการสร้างรถไฟฟ้า และระบบฟีดเดอร์แต่ยังรวมถึงด้นเทคโนโลยีขนส่งรูปแบบใหม่อย่างตั๋วร่วม การจัดหามาตรการสนับสนุนผู้ใช้ การตั้งกองทุนอุดหนุนค่าโดยสารและการพัฒนาจุดจอดแล้วจรแห่งใหม่ เป็นต้น

          ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับแผน M-MAP 2 ขณะนี้ได้ร่วมศึกษากับ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือไจก้า(JICA) และ เตรียมเสนอรายงานเข้าที่ประชุม คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เกี่ยวกับหลักการและแผนผังระบบขนส่งเส้นทางใหม่

          "JICA แนะนำว่าควรจะมีระบบรถไฟฟ้าสายใหม่เชื่อมระหว่างใจกลางเมืองกับสนามบินหลักเช่น ช่วงบางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 25 กิโลเมตร วงเงินลงทุนมากกว่า 20,000 ล้านบาท รองรับการเติบโตของเมืองหลวงฝั่งตะวันออกและเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียว" แหล่งข่าว กล่าว

          ทั้งนี้ จากข้อเสนอแนะดังกล่าวจะต้องมีการพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้งว่าจะใช้เส้นทางไหน รวมถึงยังมีการเสนอแผนพัฒนารถไฟฟ้าวงแหวนรอบนอกช่วงบางหว้า-ตลิ่งชันนนทบุรี-บางกะปิ แนวเส้นทางจะเป็นลักษณะวงแหวน ระยะทางมากกว่า 40 กิโลเมตร ใช้วงเงินลงทุนมากกว่า 50,000 ล้านบาท เพื่อรองรับผู้โดยสารเข้ารถไฟฟ้าสายหลักและสนับสนุนการเติบโตของเมือง และลดการปริมาณ ยานพาหนะที่จะเข้ามาเขตเมืองชั้นใน

          นอกจากนี้ ยังมีแผนเสนอการลงทุน รถไฟฟ้าสายสีเทา วงเงินมากกว่า 30,000 ล้านบาท ช่วงรามอินทรา-พระราม 9 และส่วนต่อขยายช่วง รามอินทรา-ลำลูกกา และพระราม 9-เอกมัย ซึ่งหลังจากนี้ จะมีการเร่งดำเนินการสำรวจรายละเอียดแนวเส้นทางเพื่อลำดับความสำคัญและศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุมัติโครงการต่อไป
 
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ