รายงาน: อสังหาฯปี61รายได้-กำไรโตสวนตลาด จับตา ผลเลือกตั้ง-LTV ชี้แนวโน้มธุรกิจ
Loading

รายงาน: อสังหาฯปี61รายได้-กำไรโตสวนตลาด จับตา ผลเลือกตั้ง-LTV ชี้แนวโน้มธุรกิจ

วันที่ : 18 มีนาคม 2562
ความร้อนแรงของคอนโดมิเนียมในปี 2560 และจำนวนซัพพลายคอนโดสะสมในตลาดที่มีจำนวนมาก บวกกับแนวโน้มการเปิดตัวโครงการใหม่ที่ชะลอตัวลง ส่งผลผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนนักวิเคราะห์อสังหาฯ ออกมา คาดการณ์ว่าตลาดในปี 2561จะเป็นปีแห่งความท้าทาย และเป็นปีแรกที่ตลาดจะไม่มีการขยายตัว และมีโอกาสติดลบได้ ..และดูเหมือนว่าการคาดการณ์จะมีแนวโน้มเป็นความจริงมากยิ่งขึ้น เมื่อกลุ่มลูกค้าต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าชาวจีนที่เริ่มชะลอการซื้ออสังหาฯ ในเมืองไทย เนื่องจากรัฐบาลจีนได้เข้มงวดในการนำเงินไปลงทุนยังต่างประเทศ และผล กระทบจากสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน
 
          ความร้อนแรงของคอนโดมิเนียมในปี 2560 และจำนวนซัพพลายคอนโดสะสมในตลาดที่มีจำนวนมาก บวกกับแนวโน้มการเปิดตัวโครงการใหม่ที่ชะลอตัวลง ส่งผลผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนนักวิเคราะห์อสังหาฯ ออกมา คาดการณ์ว่าตลาดในปี 2561จะเป็นปีแห่งความท้าทาย และเป็นปีแรกที่ตลาดจะไม่มีการขยายตัว และมีโอกาสติดลบได้ ..และดูเหมือนว่าการคาดการณ์จะมีแนวโน้มเป็นความจริงมากยิ่งขึ้น เมื่อกลุ่มลูกค้าต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าชาวจีนที่เริ่มชะลอการซื้ออสังหาฯ ในเมืองไทย เนื่องจากรัฐบาลจีนได้เข้มงวดในการนำเงินไปลงทุนยังต่างประเทศ และผล กระทบจากสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน

          แต่จะด้วยสถานการณ์บังคับ หรือด้วยความจำเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ต้อง สร้างอัตราเติบโตของบริษัทในทุกๆ ปี หรือจะเป็นเพราะประสบการณ์ที่สั่งสมมานานของผู้ประกอบการอสังหาฯ ทำให้มองเห็นโอกาสทางการตลาด ในช่วงที่คู่แข่งระมัด ระวังในการลงทุน จึงถือโอกาสเดินหน้าลงทุนโครงการใหม่ ไปพร้อมกับอัดแคมเปญเต็มแรง ลด แลก แจก แถม นับแต่ช่วงไตรมาส 3 จนถึงสิ้นปี ส่งผลให้ในปี 2561 ที่ผ่านมา ตลาดอสังหาฯพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ เนื่องจากทั้งยอดขาย และยอดโอนกรรมสิทธิ์ในตลาดรวม สามารถกลับมาขยายตัวได้มากกว่า 10% โดยเฉพาะแรงกดดันมาตรการควบคุมสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ที่จะมีผล 1 เม.ย.ปี 62 ทำให้ผู้ประกอบการเร่งทำการตลาด กระตุ้นการขายและโอนกรรมสิทธิ์ในโครงการอย่างเร่งด่วน

          โดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุเฉพาะไตรมาส 4 ปี 61 ทั้งประเทศมียอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย 92,500 หน่วย มูลค่า 339,000 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 16 ไตรมาสที่ผ่านมา และคาดว่าทั้งปี 61 จะมียอดโอนกรรมสิทธิ์สูงถึง 363,000 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 839,000 ล้านบาท และนี้ จะสะท้อนถึงตลาดอสังหาฯในปี 2562 คาดการณ์ภาพรวมเติบโตลดลง 10% เนื่องจากกำลังซื้อชะลอตัวลง หลังถูกดูดซับไปก่อนกฎ LTV จะบังคับ

          ส่องผลประกอบการอสังหาฯปี 61

          สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทมหาชนในภาค อสังหาฯ พบว่า โดยภาพรวมตัวเลขรายได้รวมและกำไรสุทธิ ยังอยู่ในระดับที่เติบโต ทั้งนี้ 11 บริษัทขนาดใหญ่ พบว่า มีรายได้รวมกว่า 238,084 ล้านบาท เติบโต 2.64% ขณะที่ความสามารถในการทำกำไรอยู่ระดับกว่า 40,766 ล้านบาท เติบโต 10.78%

          โดยบริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PSH มีรายได้สูงสุด 44,901 ล้านบาท เติบโต 2.2% แต่ในฟากของกำไรสุทธิ ทำได้ 6,022 ล้านบาท เติบโต 10.4% ขณะที่พี่ใหญ่ในวงการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH มีรายได้รวม 36,447.13ล้านบาท ลดลง6% แต่ยังสามารถรักษากำไรอยู่ระดับเกิน 10,000 ล้านบาทได้  แม้เปอร์เซ็นต์การเพิ่มขึ้นจะทำได้ 0.11%

          บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI ในปี 2561 มีรายได้รวม 27,552 ล้านบาท ลดลง 15% เป็นผลมาจาก รายได้การขายโครงการลดลง และยังสะท้อนไปถึงกำไรสุทธิที่ทำได้ 2,046 ล้านบาท ลดลง 28%

          ในด้านบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) ถือว่าเป็นปีที่มีความ โดดเด่นอย่างมาก โดยมีรายได้และกำไรสุทธิเติบโตอย่างยอดเยี่ยม โดยมีรายได้รวม 27,700ล้านบาทเพิ่มขึ้น 24.9% มีกำไรสุทธิ 3,856 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.5% และอีกบริษัทที่สามารถรักษาระดับรายได้และกำไรสุทธิได้ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า คือ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI มีรายได้รวมที่ 25,809.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.7% มีกำไรสุทธิ 5,770 ล้านบาท

          สำหรับบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) หรือ ANAN มีรายได้รวม 10,554.80 ลดลง 18.5%  แต่กลับสามารถสร้างผลกำไรสุทธิให้เติบโตได้ สูงถึง 82.10% โดยมีกำไรสุทธิ 2,419.43 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,328.45 ล้านบาท ซึ่งความสำเร็จด้านกำไรสุทธินั้น ส่วนใหญ่มาจากส่วนแบ่งกำไรจากโครงการร่วมทุนซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทฯ และมาจากยอดโอนลูกค้าต่างชาติที่สามารถทำสถิติสูงสุดถึง 6,300 ล้านบาท

          บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ผลจากแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจน และมีกลยุทธ์ทางการตลาดที่ต่างจากคู่แข่ง ทำให้ในปี 61 สามารถสร้างรายได้รวมสูงถึง 5,539.60 ล้านบาท เติบโต 6.1% และมีกำไรสุทธิ 939.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.50% เนื่องจากความสามารถในการควบคุมต้นทุนการบริหารจัดการ ได้ดีขึ้น ขณะเดียวกันก็มีรายได้จากการบริหารจัดการโครงการและธุรกิจเช่าเข้ามาเสริม

          และอีกค่ายที่ร้อนแรง คือ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI  รายได้รวม 16,638 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 66.6% กำไรสุทธิ 3,338 ล้านบาท เติบโต 65.2% โดยความสำเร็จด้านรายได้และกำไรสุทธิดังกล่าว เกิดจากการรับรู้รายได้จากการโอนแบ็กล็อกเดิมที่ต่อเนื่อง และยังมีรายได้จากกลุ่มธุรกิจใหม่ โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ออฟฟิศ คอมมูนิตี้มอลล์ โครงการมิกซ์ยูส และธุรกิจบริการ เข้ามาเสริม (พิจารณาตารางประกอบ)

          เป็นที่น่าสังเกตว่า ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น ค่ายอนันดาฯ เสนาฯ เอพี (ไทยแลนด์)  หรือแม้แต่บริษัท ออริจิ้นฯ ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทที่มีการร่วมทุนกับอสังหาฯข้ามชาติสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งมีเงินทุนแข็งแกร่ง ทำให้สามารถลงทุนในโครงการแนวสูงที่มีมูลค่าสูงได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม คงต้องจับตาดูกันในปี 2562 นี้ว่า กลุ่มบริษัทที่มีความโดดเด่นในด้านการสร้างรายได้เหล่านี้ จะรักษาความสามารถในการทำรายได้ที่โดดเด่น ท่ามกลางมาตรการLTV ที่จะบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย.นี้ เรียกว่า เป็นคลื่นร้อน หลังจากคลื่นร้อนเรื่องเลือกตั้ง ที่จะเกิดขึ้น 24 มี.ค.นี้ จะมีผลต่อทิศทางตลาดรวม อสังหาฯในปีนี้