ออฟฟิศทะลัก 4 แสนตร.ม.
Loading

ออฟฟิศทะลัก 4 แสนตร.ม.

วันที่ : 24 กุมภาพันธ์ 2562
นายสุรเชษฐ กองชีพ นักวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ วิเคราะห์ ทำเลแยกพระราม9-รัชดาฯ ว่า เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความต่อเนื่องกับพื้นที่ CBD ปัจจุบันของกรุงเทพมหานคร ที่มีความแออัดและราคาที่ดินสูง ส่งผลให้มีผู้ประกอบการบางรายให้ความสนใจพื้นที่ตามแนวถนนรัชดาภิเษกตั้งแต่พื้นที่รอบ 4 แยกพระราม 9 ขึ้นไปเพราะมีเส้นทางรถไฟใต้ดิน มีศูนย์การค้า
          นายสุรเชษฐ กองชีพ นักวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ วิเคราะห์ ทำเลแยกพระราม9-รัชดาฯ ว่า เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความต่อเนื่องกับพื้นที่ CBD ปัจจุบันของกรุงเทพมหานคร ที่มีความแออัดและราคาที่ดินสูง ส่งผลให้มีผู้ประกอบการบางรายให้ความสนใจพื้นที่ตามแนวถนนรัชดาภิเษกตั้งแต่พื้นที่รอบ 4 แยกพระราม 9 ขึ้นไปเพราะมีเส้นทางรถไฟใต้ดิน มีศูนย์การค้า

          ขนาดใหญ่ โรงพยาบาล และราคาที่ดินยังไม่สูงเกินไปในการพัฒนาเป็นอาคารสำนักงาน อาคารสำนักงานใหม่ๆ หลายอาคารที่เปิดให้บริการในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจึงอยู่ในพื้นที่นี้เมื่อรวมกับพื้นที่อาคารสำนักงานเดิมที่มีอยู่แล้วก่อนหน้านี้จึงมีผลให้พื้นที่อาคารสำนักงานรวมอยู่ที่ 435,000 ตารางเมตร เมื่อมีพื้นที่อาคารสำนักงานมากขนาดนี้จึงมีผลให้ผู้ประกอบการโครงการคอนโด มิเนียมหลายรายให้ความสนใจเข้ามาเปิดขายโครงการ อีกทั้งผู้ซื้อทั้งชาวไทยและต่างชาติรวมไปถึงนักลงทุนต่างๆ ให้ความสนใจจนมีผลให้อัตราการขายเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมในพื้นที่นี้สูงมากกว่า 90% มียูนิตเหลือขายไม่มากแล้ว

          ทั้งนี้ นายสุรเชษฐ อธิบายต่อว่า ความน่าสนใจในพื้นที่นี้จะยังคงมากขึ้นไปอีกในอนาคตโดยเฉพาะในพื้นที่รอบๆ สถานีรถไฟใต้ดินศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศ ไทยที่มีที่ดินขนาดใหญ่บางแปลงเริ่มมีความเคลื่อนไหวจากเจ้าของที่ดินที่ต้องการพัฒนาที่ดินของตนเอง 2 แปลงที่น่าสนใจคือ ที่ดินของบริษัทอสมท จำกัด (มหาชน) ขนาด 50 ไร่และ 20 ไร่

          เบื้องต้นมีข่าวว่ามีเอกชน 8 รายทั้งไทยและต่างประเทศให้ความสนใจที่ดินของอสมท เนื่อง จากเป็นที่ขนาดใหญ่ที่เหลือไม่มากแล้วในทำเลนี้ อีกทั้งราคาที่ดินก็มีการปรับขึ้นมากมายโดยเฉพาะที่ดินที่อยู่ติดถนนรัชดาภิเษกที่มากกว่า 1 ล้านบาทต่อตารางวาไปแล้ว แม้ว่าที่ดินของ

          อสมท จะไม่อยู่ติดถนนรัชดาภิเษกแต่ก็อยู่ติดกับถนนวัฒนธรรมและถนนเทียมร่วมมิตรที่เป็นถนนสายรองที่แยกออกจากถนนรัชดาภิเษก อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับทางด่วนหรือถนนเส้นทางอื่นๆ ได้อีกหลายเส้นทาง นอกจากนี้สถานีรถไฟใต้ดินศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยยังจะเป็นสถานีร่วมของเส้นทางรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง คือ สายสีน้ำเงินหรือรถไฟใต้ดินในปัจจุบันและสายสีส้มซึ่งในอนาคตจะเป็นเส้นทางที่วิ่งผ่านใจกลางกรุงเทพมหานครในทิศทางตะวันออก-ตะวันตกเพราะมาจากมีนบุรีไปสุดเส้นทางที่ตลิ่งชัน ดังนั้น สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยจะเป็นอีก 1 สถานีที่มีความคึกคักในเรื่องของจำนวนคนที่จะเข้ามาใช้บริการในอนาคต และจะมีผลต่อความน่าสนใจของพื้นที่โดยรอบแน่นอนในอนาคต
 
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ