กคช.เร่งศึกษาบ้านสมาร์ทโฮม
Loading

กคช.เร่งศึกษาบ้านสมาร์ทโฮม

วันที่ : 4 กุมภาพันธ์ 2562
ดร.ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กล่าวว่า การเคหะฯ อยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนาบ้านสมาร์ทโฮม หรือ บ้านโครงสร้างเหล็ก เพื่อนำเข้าโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะฯ และโครงการบ้าน 1,000,000 หลังของรัฐบาล เนื่องจากบ้านสมาร์ทโฮมเป็นบ้านที่มีต้นทุนต่ำ และใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างน้อย โดยระดับราคาขายสมาร์ทโฮมจะอยู่ที่ 200,000- 300,000 บาทต่อหน่วย คาดว่าใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ1-2 สัปดาห์ต่อหน่วย
          ดร.ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กล่าวว่า การเคหะฯ อยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนาบ้านสมาร์ทโฮม หรือ บ้านโครงสร้างเหล็ก เพื่อนำเข้าโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะฯ และโครงการบ้าน 1,000,000 หลังของรัฐบาล เนื่องจากบ้านสมาร์ทโฮมเป็นบ้านที่มีต้นทุนต่ำ และใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างน้อย โดยระดับราคาขายสมาร์ทโฮมจะอยู่ที่ 200,000- 300,000 บาทต่อหน่วย คาดว่าใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ1-2 สัปดาห์ต่อหน่วย

          ทั้งนี้ หากนำบ้านสมาร์ทโฮมเข้ามาใช้ในโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อยจะช่วยลดระยะเวลาในการก่อสร้าง และต้นทุนได้อย่างมาก และจะช่วยให้ง่ายต่อการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย เพราะด้วยราคาขายที่ไม่สูง จะทำให้ผู้มีรายได้น้อยมีโอกาสผ่านเกณฑ์การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาปัญหาหลักของการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย คือการถูกปฏิเสธสินเชื่อมีจำนวนสูงมาก

          แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาสถาบันการเงินในกำกับดูแลของรัฐบาลทั้ง 3 แห่ง คือ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารออมสิน และ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อในโครงการของการเคหะ และโครงการบ้าน 1,000,000 หลังของรัฐบาลด้วยดี แต่ปัญหากำลังซื้อของผู้มีรายได้น้อย ยังคงทำให้มียอดการถูกปฏิเสธสินเชื่อในปริมาณที่ยังสูงอยู่

          นอกจากนี้ ปัญหาการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้าง ค่อนข้างมาก ยังส่งผลให้เกิดการส่งมอบที่อยู่อาศัยล่าช้า ดังนั้น การนำบ้านสมาร์ทโฮมเข้ามาใช้ในทั้งสองโครงการ จะช่วยให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองมีโอกาสในการผ่านเกณฑ์การขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น และ กคช.ยังสามารถส่งมอบที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ซื้อ ที่อยู่อาศัยได้เร็วขึ้นด้วย

          ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการบ้าน 1,000,000 หลังของรัฐบาลแม้จะได้รับความสนใจจากประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองมีจำนวนมาก แต่ที่ผ่านมามีหน่วยงานที่เสนอขายที่อยู่อาศัยเข้าร่วมโครงการหลักๆ เพียงสามราย คือ การเคหะแห่งชาติ บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) หรือ BAM และ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด หรือ SAM ซึ่งในส่วนของ BAM และ SAM นั้นมีสินทรัพย์ที่เป็นบ้านจะเข้าร่วมโครงการไม่มากพอ

          โดยทั้ง 2 บริษัทดังกล่าวมีที่อยู่อาศัยที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 30,000-40,000 หน่วยเท่านั้น ส่วนที่เหลือ กคช. คงเป็นผู้พัฒนาและนำเสนอเข้าโครงการเป็นหลัก ส่วนโอกาสที่บริษัทเอกชนจะเสนอบ้านเข้าร่วมโครงการนั้นคงจะมีจำนวนน้อยมาก เนื่องจากกำไรจากโครงการนี้ค่อนข้างต่ำทำให้ได้รับความสนใจจากบริษัทเอกชนค่อนข้างน้อย

          "หากสามารถนำบ้านสมาร์ทโฮมเข้าสู่โครงการของการเคหะฯ และ โครงการบ้าน 1,000,000 หลัง จะสามารถลดระยะเวลาในการก่อสร้างและช่วยให้เรามีรายได้น้อยสามารถสิงห์บ้าน หรือที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้มากขึ้น"

          สำหรับบ้านสมาร์ทโฮมที่อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้นี้ คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการศึกษาก่อนเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ บริหารการเคหะแห่งชาติในช่วง 2-3 เดือน จากนี้ ก่อนนำเสนอกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ หรือ พม. ซึ่งในเบื้องต้น พม. ก็เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวแล้ว
 
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาครัฐ อื่นๆ