ไฮสปีดเทรน กรุงเทพฯ-โคราช เชื่อมขนส่งอาเซียน-จีน
Loading

ไฮสปีดเทรน กรุงเทพฯ-โคราช เชื่อมขนส่งอาเซียน-จีน

วันที่ : 12 กรกฎาคม 2560
ไฮสปีดเทรน กรุงเทพฯ-โคราช เชื่อมขนส่งอาเซียน-จีน

การประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ (11 ก.ค.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่ประชุมฯมีมติเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรถไฟฟ้าความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในวงเงิน 179,413 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (ปีงบประมาณ 2560-2563) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ มีรายละเอียดดังนี้

ความสำคัญของโครงการ

โครงการฯช่วงกรุงเทพมหานครนครราชสีมา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟขนาดทาง มาตรฐานช่วงกรุงเทพมหานครนครราชสีมา-หนองคาย ที่มีความสำคัญ เชิงยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน และสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ปัจจุบันมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และมีมูลค่าการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับไทยสูง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ One  Belt One Road ที่จะสนับสนุนยุทธศาสตร์ การสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลาง การคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค รวมทั้งสนับสนุนยุทธศาสตร์ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือให้เชื่อมโยงกับ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ในระดับประเทศ จะเป็นการเชื่อมโยง โอกาสการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีระดับสัดส่วนมูลค่าร้อยละ 47 ของ GDP ไปสู่จังหวัดในโครงข่ายในการพัฒนา ได้แก่ อยุธยา สระบุรี นครราชสีมา สำหรับการพัฒนาโครงข่ายในระยะแรก และนำไปสู่เขตจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย กลุ่มจังหวัดใกล้เคียง ในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการสนับสนุนและเชื่อมโยง พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) อันเป็นการเปิดโอกาสด้านการพัฒนาเมือง การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว นำไปสู่การ กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ในขณะที่ลดการย้ายถิ่นฐาน สร้างงานในพื้นที่ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนทำงานยังคงอยู่อาศัยกับครอบครัวในสังคมผู้สูงอายุในอีก 5 ปีข้างหน้า

ในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศ การพัฒนาโครงข่ายเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะนำไปสู่การเริ่มต้นของการพัฒนาโครงข่ายระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย และเป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟด้านทิศเหนือ-ใต้ของอาเซียน กับจีนตอนใต้ตามแนวเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง อันเป็น Gateway ของการเป็นประตูกลุ่มประเทศศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่งทางบกของประเทศไทย ในกลุ่มประเทศอาเซียนที่แท้จริง  ตลอดจนจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายคมนาคม One Belt One Road เชื่อมไปสู่กลุ่มประเทศที่สำคัญผ่านโครงข่ายทางรถไฟของจีนในอนาคต ซึ่งมีความสำคัญในด้านของภูมิรัฐศาสตร์โลก (Geopolitics) ที่จะมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นลู่ทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวให้แก่นักธุรกิจของไทย ผู้ประกอบการขนส่ง เกษตรกร เชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ไปสู่การเปิดตลาดใหม่ๆ ได้อย่างยั่งยืนสาระสำคัญของโครงการ

-แนวเส้นทาง ระยะทางรวม 253 กม. สถานียกระดับ 6 สถานี

-ศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมการเดินรถ สถานีรถไฟเชียงรากน้อย

-ระบบรถไฟฟ้า EMU 6 ขบวน กำลัง ขับเคลื่อนสูงสุด 5,200 kW. ความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. ความจุขบวนรถ 600 ที่นั่ง/ขบวน ใช้เวลาเดินทาง กทม.-นครราชสีมา 1 ชม. 17 นาที

- เปิดให้บริการปีแรก (ปี 2564) คาดว่า จะมีปริมาณผู้โดยสาร ประมาณ 5,310 คนเที่ยว/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 26,830 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2594 รถออกทุก 90 นาที กรอบวงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท ซึ่งไทยจะเป็นผู้ลงทุน ทั้งหมด

รูปแบบการดำเนินโครงการ แบ่งออกเป็น 2 สัญญา ได้แก่

(1) สัญญาก่อสร้างงานโยธา (ฝ่ายไทย)

(2)สัญญา EPC RAILWAY SYSTEMS ได้แก่ งานออกแบบรายละเอียดงาน โยธาควบคุมงานโยธา ติดตั้งและจัดหา ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล และขบวนรถ (ฝ่ายจีน)

(3) การเดินรถและซ่อมบารุง กำหนดให้มีการจัดตั้งบริษัทเฉพาะกิจ (SPV) ในฐานะรัฐวิสาหกิจของไทยเพื่อดาเนินงานเดินรถและซ่อมบำรุง

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ มี NPV เท่ากับ -59,286 ล้านบาท ณ อัตราคิดลดร้อยละ 12 EIRR ร้อยละ 8.56 และ B/C Ratio 0.62 เท่า

ผลตอบแทนทางด้านการเงิน มีNPV เท่ากับ -220,197 ล้านบาท ณ อัตราคิดลดร้อยละ 2.53

ครม.ไฟเขียวเร่งเวนคืนที่ดินสร้างวงแหวนรอบเมืองโคราช

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วานนี้ (11 ก.ค.) ครม.เห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290 สายถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ตอนบ้านหนองไทรบ้านหนองบัวศาลา ในท้องที่ อ.ปักธงชัย อ.เมือง และ อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา เป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน

เนื่องจากขณะนี้ยังมีอีก 4 แปลงที่ประชาชนยังไม่เข้ามาทำสัญญาข้อตกลงซื้อขายกับกรมทางหลวง(ทล.) จากทั้งหมด 58 แปลงที่มีการกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินแล้ว จึงต้องมีการออกประกาศเร่งด่วนดังกล่าว เพื่อเข้าครอบครองพื้นที่ ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนปกติของการเวนคืนที่ดิน ทั้งนี้ 4 แปลงดังกล่าว อยู่บริเวณทางแยกต่างระดับ ซึ่งเป็น จุดเริ่มต้นโครงการ สำหรับโครงการก่อสร้างดังกล่าว ได้ทำสัญญาจ้างบริษัท โรจน์สินก่อสร้าง จำกัด ก่อสร้างโครงการ ระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร ระยะเวลาดำเนินการ 960 วัน โดยเริ่มสัญญาวันที่ 1 มิ.ย.2559 และสิ้นสุดสัญญาวันที่ 16 มิ.ย.2562 วงเงินก่อสร้าง 987,934,080 บาท โครงการนี้จะช่วยแก้ปัญหาการจราจร ติดขัดภายในตัวเมืองนครราชสีมาในระยะยาว เนื่องจากปัจจุบันการจราจรผ่านเข้าตัวเมืองดังกล่าวค่อนข้างหนาแน่น ดังนั้นการสร้างถนนวงแหวนของเมืองใหญ่จึงมีความจำเป็น เพื่อให้รถไม่ต้องวิ่ง ผ่านเข้าตัวเมือง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมี อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนอีก 227 แปลง ที่ยังไม่ได้กำหนดราคาค่าทดแทนที่ดิน ซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น กำลังประชุมเพื่อกำหนดราคาค่าทดแทน ให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค.นี้ จากนั้น จะแจ้งให้ประชาชนมาทำสัญญาต่อไป

 
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ