กนง.ชี้เศรษฐกิจโตกระจุก ห่วง 'หนี้เสีย' เอสเอ็มอีพุ่ง
Loading

กนง.ชี้เศรษฐกิจโตกระจุก ห่วง 'หนี้เสีย' เอสเอ็มอีพุ่ง

วันที่ : 15 กรกฎาคม 2560
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ปรับคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจไทยปีนี้ เป็น 3.5% จากเดิม 3.4% โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนต่อเนื่อง แต่แสดงความเป็นห่วงว่าการเติบโตที่ยังไม่ทั่วถึง อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพหนี้ของธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ท่ามกลางการแข่งขันที่ สูงขึ้น
"ลงทุนภาครัฐอืด

          ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ปรับคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจไทยปีนี้ เป็น 3.5% จากเดิม 3.4% โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนต่อเนื่อง แต่แสดงความเป็นห่วงว่าการเติบโตที่ยังไม่ทั่วถึง อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพหนี้ของธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ท่ามกลางการแข่งขันที่ สูงขึ้น มีรายละเอียดดังนี้

"ความสามารถในการชำระหนี้ของ

          "จาตุรงค์ จันทรังษ์" ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท.ในฐานะ เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)  แถลงว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ามี แนวโน้มขยายตัวชัดเจนต่อเนื่อง คาดว่าปีนี้ จะมีการเติบโต 3.5% จากประมาณการเดิม 3.4% และ ปีหน้าคาดว่าจะโต 3.7% จากประมาณการเดิม 3.6%  เป็นผลมาจาก การส่งออกสินค้าและบริการที่ดีขึ้น ตามเศรษฐกิจคู่ค้าที่ขยายตัวดี และแรงกระตุ้นภาคการคลังที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง ขณะที่ การใช้จ่ายของภาคเอกชนขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

          กนง. ยังมีความกังวลในเรื่อง ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังเติบโตไม่ทั่วถึง ความสามารถใน การชำระหนี้ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอลยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาความสามารถทางการแข่งขัน ซึ่งในภาวะที่เศรษฐกิจยังขยายตัวไม่เต็มที่ ทำให้การแข่งขันใน ธุรกิจเพิ่มขึ้น ส่วนที่ปรับตัวไม่ได้ หรือปรับตัว ได้ช้าก็แข่งขันได้น้อยลง

          " ปัญหาความสามารถทางการแข่งขันของเอสเอ็มอี มีส่วนทั้งที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจและการปรับตัวของผู้ประกอบการเอง ซึ่งเอ็นพีแอลของเอสเอ็มอีในช่วงไตรมาส 1 ปี2560 อยู่ที่ระดับ 4.35%  และยังมีแนวโน้มปรับขึ้นต่อ คาดว่ากว่าจะปรับลดลงต้องใช้เวลาอีก 2 ไตรมาส"

          อย่างไรก็ตามแม้ว่าเอ็นพีแอลของเอสเอ็มอีอยู่ในระดับสูง แต่ก็ไม่ได้มีปัญหาในด้านเสถียรภาพการเงิน เพราะสินเชื่อเอสเอ็มอีคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของ สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ อีกทั้งธนาคารพาณิชย์เองก็มีการตั้งสำรองตั้งแต่ก่อนที่จะเป็นหนี้เสีย

          คาดปลายปีเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย

          สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามต่อไปซึ่งอาจจะมีผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น ระดับอัตราเงินเฟ้อที่ยังต่ำกว่ากรอบ เป้าหมาย แต่เชื่อว่าปลายถึงต้นปีหน้าจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 1-4% ได้ ส่วนหนึ่งมาจากกำลังซื้อในประเทศยังไม่เข้มแข็ง บวกกับราคาพลังงาน รวมถึง ราคาอาหารสดก็ปรับตัวไม่ได้สูงขึ้นมากนัก แต่ก็ยังเชื่อว่าเงินเฟ้อจะสูงขึ้นได้ตามราคาน้ำมันที่ยังมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นอยู่

          นอกจากนี้ กนง.ยังให้ความสำคัญ ในการติดตามการลงทุนภาคเอกชนที่ยังขยายตัวต่ำ โดยปีนี้คาดว่าจะโต 1.7% จากเดิม 2.4% อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้เติบโตตามเป้าหมายก็ต้องขยายตัว3% ส่วนหนึ่งเกิดจากการลงทุนภาครัฐมี ความล่าช้าในบางโครงการ เช่น โครงการมอเตอเวย์ 2 สาย ซึ่งติดปัญหาการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม

          การเลื่อนการเบิกจ่ายงบกลุ่มจังหวัด การเลื่อนการเบิกจ่ายโครงการเน็ตประชารัฐ การเลื่อนการเบิกจ่ายโครงการรถไฟฟ้าทางคู่และรถไฟฟ้าสายสีส้ม และ โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปถึงโครงการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงยอดขายโครงการตามแนวรถไฟฟ้ามีการชะลอตัว ประกอบกับ ความเชื่อมั่นการลงทุนยังอยู่ในระดับต่ำ และ กำลังซื้อในประเทศยังเปาะบาง

          กม.แรงงานต่างด้าวเพิ่มต้นทุนเอสเอ็มอี

          ขณะเดียวกันผลจากการบังคับใช้กฎหมายแรงงานต่างด้าวที่จะมีผลกระทบ ให้แรงงานบางส่วนไหลกลับออกนอกประเทศ ถ้าแรงงานดังกล่าวกลับเข้ามาไม่ได้ในระดับเดิมจะส่งผลต่อต้นทุนของ ผู้ประกอบการด้านการผลิตปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีปัญหาเรื่องขีดความสามารถทางการแข่งขันอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังต้องติดตามพฤติกรรมการมองว่าผลตอบแทนที่สูงโดยไม่ได้มองถึงความเสี่ยง หรือ search foe yield ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลา อาจจะนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงของตลาดต่ำกว่าที่ควร (Under pricing  of risk) สะท้อนจากขนาดสินทรัพย์ของกองทุน รวมที่ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (FIF) ที่ขยายตัวต่อเนื่อง แต่ความเสี่ยงยังมีจำกัดเพราะการลงทุน ส่วนใหญ่อยู่ใน รูปเงินฝากหรือตราสารหนี้ระยะสั้นในประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในเกณฑ์ดี

          สำหรับ การลงทุนในตราสารหนี้ประเภท unrated bond มีทิศทางชะลอลงหลังจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสารบางรายในช่วงก่อนหน้า แต่ในภาพรวมตลาดตราสารหนี้ปรับตัวได้โดยไม่เกิดการตื่นตระหนก (orderly adjustment)

          คณะกรรมการฯ เห็นว่าความร่วมมือและประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างองค์กรกำกับ ดูแลต่างๆ จะเป็นกลไกสำคัญในการติดตาม ประเมิน และจัดการกับความเสี่ยง ในจุดต่างๆ ในระบบการเงินที่มี ความเชื่อมโยง กันมากขึ้น เพื่อปิดช่องว่างของเกณฑ์กำกับดูแล และจัดการกับความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม และทันท่วงทีต่อไป

          คงนโยบายการเงินผ่อนปรนเอื้อเศรษฐกิจโตต่อเนื่อง

          ในส่วนของนโยบายการเงิน คณะกรรมการกนง.มองว่ายังควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อไปเพื่อเอื้อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่อง ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับสูงขึ้นเข้าสู่เป้าหมาย  เศรษฐกิจไทยขยายตัวชัดเจนมากขึ้น แต่การขยายตัว ของอุปสงค์ในประเทศอาจยังไม่กระจายตัวเท่าที่ควรและยังคงมีความเสี่ยง จากด้านต่างประเทศ อีกทั้งแรงกดดัน เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2560 อาจต่ำกว่าระดับ เป้าหมายแม้ยังมีทิศทาง ปรับสูงขึ้น

          ขณะที่ภาวะการเงินผ่อนคลายมากขึ้นและเสถียรภาพระบบการเงินอยู่ในเกณฑ์ดี  คณะกรรมการฯ จึงเห็นพ้องว่าควรรักษาระดับความผ่อนคลายของนโยบาย การเงินไปได้อีกระยะหนึ่ง เพื่อสนับสนุนให้  การขยายตัวทางเศรษฐกิจมีความต่อเนื่องและกระจายตัวมากขึ้น ซึ่งจะเอื้อให้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับสูงขึ้นเข้าสู่ ระดับเป้าหมายอย่างยั่งยืน โดยพร้อมใช้เครื่องมือ เชิงนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสมเพื่อบรรลุเป้าหมายควบคู่กับ การรักษาเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ

          ส่วนกรณีที่ ธปท. เตรียมปรับเปลี่ยนเกณฑ์เพดานการปล่อยเงินกู้ สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มี หลักประกันนั้น มองว่า คงมีผลกระทบไม่มาก เพราะมาตรการดังกล่าวจะควบคุมเฉพาะผู้ที่ขอสินเชื่อใหม่เท่านั้น ไม่มีผลกระทบต่อผู้ที่มีบัตรเครดิต รายเดิม ซึ่งธปท. มองว่าการกระตุ้นการบริโภคด้วยการก่อหนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น เมื่อครัวเรือนมีหนี้สินอำนาจการซื้อก็จะ น้อยลง เพราะเมื่อมีรายรับก็ต้องนำไป ชำระหนี้ เนื่องจากเป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ ดังนั้นธปท.อยากให้มองภาพรวมเศรษฐกิจในระยะยาวเป็นหลัก

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ