ยอดอนุมัติกู้ซื้อบ้านไม่ขยับ
Loading

ยอดอนุมัติกู้ซื้อบ้านไม่ขยับ

วันที่ : 16 สิงหาคม 2560
นาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะภาคอสังหาริมทรัพย์ล่าสุด ในไตรมาส 2 ปี 2560 ว่า ยังทรงตัวจากไตรมาสแรก ทั้งด้านความต้องการซื้อ ที่อยู่อาศัย (อุปสงค์) และด้านจำนวนการ ผลิตที่อยู่อาศัยออกสู่ตลาด (อุปทาน) โดยอุปสงค์ทรงตัวทั้งที่อยู่อาศัยแนวราบ ประเภท บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม รวมถึงอาคารชุด สะท้อนจากจำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ ปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์ในเขต กรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ค่อนข้างทรงตัว
"ยอดอนุมัติกู้ซื้อบ้านไม่ขยับ"

          ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะภาคอสังหาริมทรัพย์ล่าสุด ในไตรมาส 2 ปี 2560 ว่า ยังทรงตัวจากไตรมาสแรก ทั้งด้านความต้องการซื้อ ที่อยู่อาศัย (อุปสงค์) และด้านจำนวนการ ผลิตที่อยู่อาศัยออกสู่ตลาด (อุปทาน) โดยอุปสงค์ทรงตัวทั้งที่อยู่อาศัยแนวราบ ประเภท บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม รวมถึงอาคารชุด สะท้อนจากจำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ ปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์ในเขต กรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ค่อนข้างทรงตัว

"ยอดอนุมัติกู้ซื้อบ้านไม่ขยับ"

          หากดูจากการขยายตัวของสินเชื่อ เพื่อการอุปโภคบริโภคเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย จะพบว่า ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่อง เพราะการยื่นขอกู้ถูกปฏิเสธเฉลี่ยที่ 50% ของยอดยื่นกู้ โดยปี 2557 ขยายตัว 12.1% ต่อมาปี 2558 ลดลงเหลือ 9.3% ปี 2559 ขยายตัว 6.9% และไตรมาสแรกปี 2560 ขยายตัว 6% และข้อมูลล่าสุดในไตรมาส 2 ปี 2560 ขยายตัวเหลือที่ 5% เป็นไปในทิศทางเดียวกับสินเชื่อเพื่อการอุปโภคทุกประเภทที่ชะลอตัวลง

          ขณะที่ด้านอุปทานโดยรวมทรงตัว เพราะแม้ว่าผู้ประกอบการจะเปิดขายโครงการใหม่ประเภทอาคารชุดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มระดับราคา 2-5 ล้านบาท แต่กลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบเปิดขาย ชะลอลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน

          ทั้งนี้ จำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลไตรมาส 2 ปีนี้อยู่ที่ 1.48 หมื่นยูนิต แบ่งเป็น ที่อยู่อาศัยแนวราบ 8,000 ยูนิต และ คอนโดมิเนียม 6,800 ยูนิต ขณะที่ โครงการเปิดตัวใหม่โดยรวมอยู่ที่ 2.55 หมื่นยูนิต ซึ่งเป็นที่อาศัยแนวราบ 9,500 ยูนิต และคอนโดมิเนียม 1.6 หมื่นยูนิต ซึ่งบ่งบอกว่ามีอุปทานส่วนเกิน (โอเวอร์ซัพพลาย) ในตลาด

          ด้านดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในส่วนของบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ปรับขึ้นบ้างเล็กน้อย ขณะที่ราคาคอนโดมิเนียมและที่ดินเปล่าปรับลดลง

          อย่างไรก็ดี ประเด็นโอเวอร์ซัพพลาย นั้น ธปท.ไม่ได้กังวลมากนัก โดย ดารณี แซ่จู ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธปท. ระบุว่า การที่สินเชื่อในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใน ไตรมาส 2 ที่ผ่านมาโตแบบก้าวกระโดดจาก 1% ในไตรมาสแรก เพิ่มเป็น 11% ทั้งที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้น ยอดขายก็โตน้อย ทำให้ขายที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จออกไปได้ช้าลง จนบางพื้นที่มีโอเวอร์ซัพพลายนั้น ยังไม่ใช่สัญญาณที่น่ากังวลว่าจะเป็น ฟองสบู่

          "การโตสูง 11% เป็นภาวะชั่วคราวจากการที่ผู้ประกอบการโยกจากการพึ่งตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้มาใช้ สินเชื่อกับแบงก์แทน แต่การเข้ามากู้ส่วนใหญ่เป็นการจัดหาเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น (บริดจ์ ไฟแนนซ์) ทำให้สินเชื่อ เพิ่มสูงชั่วคราว ไตรมาสหน้าสินเชื่อส่วนนี้ อาจหายไปเลย ดังนั้น การโตลักษณะนี้ จึงไม่น่าห่วง" ดารณี ระบุ

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์