ย้ายเรียบ กระทรวงใหญ่ คุมผังอาคารเกาะรัตนโกสินทร์
Loading

ย้ายเรียบ กระทรวงใหญ่ คุมผังอาคารเกาะรัตนโกสินทร์

วันที่ : 27 สิงหาคม 2561
คลังฮึดไม่เลิกดัน "ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง" หวังมีผลบังคับใช้ปี 2563 ด้าน อปท.ประเมินใช้เวลา 6-7 เดือน หลังกฎหมายเดินเครื่องลุยสำรวจการใช้ที่ดินจริงของประชาชน

นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.การคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เปิดเผย ว่า คณะกรรมาธิการยังอยู่ระ หว่างการพิจารณารายละเอียดของกฎหมายทั้งหมด ยังไม่มีความคืบ"แอล.พี.เอ็น." ลั่นไม่หนุนขายห้องพักปล่อยเช่ารายวัน ติวเข้มลูกบ้านให้เช่าระยะยาว เชื่อภาพรวมไม่กระทบผู้ประกอบการ ขณะสมาคมบ้านฯลั่นไม่เป็นผลดี กรมโยธาฯแจ้งท้องถิ่นคุมเข้มใช้อาคารผิดประเภท

นางสมศรี  เตชะไกรศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัทลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์  จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า แอล.พี.เอ็น. ไม่มีนโยบายส่งเสริมให้ลูกค้าที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในโครงการนำไปปล่อยเช่าในลักษณะรายวัน โดยจะมีการเน้นการบริหารจัดการอาคารด้วยการสื่อสารกับลูกค้าเจ้าของร่วมเป็นหลัก นับตั้งแต่วันส่งมอบ การให้นโยบายในวันปฐมนิเทศผู้อยู่อาศัย ประชุมใหญ่ลูกบ้าน ไปจนถึงเมื่อเข้าอยู่ ก็จะใช้วิธีการสังเกตถึงพฤติกรรมผู้อยู่อาศัย เพราะสถานะผู้เช่ากับผู้อยู่อาศัยจริงจะต่างกัน ซึ่งตรวจสอบได้ไม่ยาก

นอกจากนี้ยังเน้นหลักการให้เจ้าของห้องพัก มีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หากมีการใช้งานถี่หรือบ่อยครั้ง ก็ทำให้เสื่อมสภาพเร็วขึ้น อายุการใช้งานเกิดความเสียหายและเสื่อมสภาพ ด้อยค่าและเมื่อขายต่อจะทำให้ไม่ได้ราคา ซึ่งเราจะเน้นสร้างความเข้าใจให้ชุมชนไม่ทำลายทรัพย์สินของตัวเอง  อย่างไรก็ดีแอล.พี.เอ็น. เน้นการพัฒนาโครงการเพื่อต้องการให้คนทำงานมีบ้านหลังแรกเป็นของตัวเองและเน้นการดูแลชุมชนที่ดี

"แต่ก็ยอมรับว่ามีบ้าง แต่ไม่ใช่ทุกโครงการที่มีการซื้อห้องพักเพื่อปล่อยเช่าแบบ Airbnb ซึ่งเจ้าของที่ซื้อห้องไว้มากกว่า 1 ห้อง ทั้งอยู่อาศัยเองและนำไปปล่อยเช่า ซึ่งเราจะแนะนำให้ปล่อยเช่านานเกิน 3 เดือนก็ถือว่าไม่น่าจะกระทบต่อทรัพย์สิน"
โบรกส่องกลุ่มอสังหา ริมทรัพย์รับผลกระทบจากภาษีลาภลอยแต่ไม่รุนแรง พร้อมชู 5 หุ้นผล กระทบจำกัด

ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ครม.มีมติเห็นชอบร่างกฎหมายภาษีลาภลอยแล้ว เมื่อวานนี้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบพ.ร.บ.ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ พ.ศ. ... (ภาษีลาภลอย) หลังจากเปิดรับฟังความเห็นเรียบร้อยแล้ว จากนี้จะเสนอร่างพ.ร.บ.ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาในรายละเอียด แล้วส่งกลับเข้าครม.และเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)พิจารณา โดยคาดว่ากฎหมายจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2562 ทั้งนี้เป็นการเก็บภาษีจากเจ้าของที่ดินหรือห้องชุดที่ได้รับประโยชน์จากการเพิ่มของมูลค่าที่ดินหรือห้องชุดอันเนื่องมาจากการพัฒนาโครงการของรัฐ โดยจะใช้ภาษีนี้ไปเพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป

ขณะที่ในส่วนของที่ดินและห้องชุดมูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยจะเสียภาษีเพียงครั้งเดียวบนส่วนต่างของมูลค่าที่เพิ่มระหว่างวันที่รัฐเริ่มก่อสร้างกับมูลค่าในวันที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ส่วนกรณีคอนโดที่คำนวณส่วนต่างไม่ได้ ให้คำนวณภาษีจาก 20% ของมูลค่าคอนโด อัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ไม่เกิน 5%

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีดังกล่าวนี้ คือ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหรือครอบครองที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของรัฐหรือเป็นเจ้าของห้องชุดที่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาท และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นเจ้าของห้องชุดรอการจำหน่าย ซึ่งอยู่รอบพื้นที่รัศมี 5 กม.ที่มีโครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนท่าเรือ สนามบิน โครงการทางด่วนพิเศษ และโครงการอื่นๆ ที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ยกเว้นภาษีให้แก่ที่ดินหรือห้องชุดที่ใช้เพื่อพักอาศัยและที่ดินที่ใช้ประกอบเกษตรกรรม
กระทรวงใหญ่เข้าคิวย้ายที่ทำการตามมหาดไทย รับแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนา กรุงรัตนโกสินทร์ "คมนาคม" จองที่ดินรถไฟย่านบางซื่อสร้างอาคารใหม่ ก.ท่องเที่ยวฯ เล็งเช่าพื้นที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ 3 หมื่น ตร.ม. ด้าน กทม.ขานรับเตรียมปรับผังเมืองคุมเข้มการพัฒนา 5 บริเวณหลัก ทั้งชั้นใน-ชั้นนอกเกาะเมือง ห้ามผุดตึกสูง อาคารขนาดใหญ่ พร้อมคุมโทนสีอาคาร-หลังคา ปั้นถนน

ราชดำเนินกลางเป็นแลนด์มาร์กเทียบฌ็องเซลิเซ่

กระแสข่าวการโยกย้ายหน่วยงานราชการออกไปนอกเขตพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ถูกจับตามองในวงกว้าง เพราะนอกจากกระทรวงมหาดไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า จะยินยอมให้ใช้ประโยชน์ที่ดินราชพัสดุ 100 ไร่ บริเวณสนามกอล์ฟชลประทาน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี สำหรับใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างกระทรวงมหาดไทยแห่งใหม่ ตามที่ได้ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์หรือไม่ ส่วนราชการทั้งระดับกรม กระทรวงอีกหลายหน่วยงานก็มีแผนจะย้ายอาคารที่ทำการซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน อาทิ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา เป็นต้น

ขณะที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ก็มีแผนจะจัดระเบียบอาคารและ สิ่งปลูกสร้าง และการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ เพื่อให้สอดรับ กับแผนพัฒนา กทม.ระยะ 20 ปี ที่กำหนดวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2575 ให้ กทม.เป็นมหานครแห่งเอเชีย เป็นเมืองชั้นนำด้านเศรษฐกิจภาคบริการ ปลอดภัย สะดวกสบาย สวยงาม น่าอยู่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีเอกลักษณ์เฉพาะ และเป็นไปตามแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งขณะนี้แผนดังกล่าวอยู่ระหว่างเสนอให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ก่อนเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)

คุมเข้มรอบเกาะรัตนโกสินทร์

 

นายศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เพื่อเป็น การส่งเสริมการท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรมและโบราณสถานในพื้นที่รอบกรุงรัตน โกสินทร์ และพระบรมมหาราชวัง รวมถึงรองรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน และสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค ที่แนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ชั้นในเกาะรัตนโกสินทร์

ล่าสุด สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปรับปรุงแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ใหม่ฉบับปี 2560 โดยขยายขอบเขตพื้นที่ครอบคลุม 1.กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน 2.กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก 3.ฝั่งธนบุรี ตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ 4.พื้นที่ต่อเนื่องบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ตั้งแต่แนวคลองรอบกรุงถึงแนวคลองผดุงกรุงเกษม และ 5.บริเวณพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามกรุงรัตนโกสินทร์

ย้ายมหาดไทย-กทม.นำร่อง

หลังแผนแม่บทดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม ครม. หน่วยงานเกี่ยวข้องจะต้องนำผลศึกษาที่นำมาจัดทำเป็นแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ฉบับใหม่ แทนแผนแม่บทเดิมซึ่งจัดทำไว้ตั้งแต่ปี 2540 มาปฏิบัติ และดำเนินการตามกรอบที่กำหนดไว้ในแผนแม่บท เช่น ด้านการปรับปรุงภูมิทัศน์ ระบบการ จราจร การใช้ประโยชน์ที่ดิน ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยว การท่องเที่ยว และวิถีชุมชน

"เป็นการจัดระเบียบพื้นที่ชั้นในใหม่เพื่อไม่ให้มีความแออัด อาจจะมีหน่วยงานราชการบางส่วนที่ต้องย้ายออกไปอยู่บริเวณอื่น เพื่อลดความแออัด เช่น กระทรวงมหาดไทย และ กทม. ซึ่งในส่วนของ กทม.ขณะนี้กำลัง ทยอยย้ายหน่วยงานในสังกัดบางส่วนไปอยู่ตึกใหม่ ในศาลาว่าการ กทม. 2 ดินแดง และในอนาคต ศาลาว่าการ กทม. 1 จะอนุรักษ์อาคารเดิมให้เป็นพิพิธภัณฑ์"

ปั้นแลนด์มาร์ก-คุมโทนสีอาคาร

นายศักดิ์ชัยกล่าวว่า ในส่วนของถนนราชดำเนินและพื้นที่ในบริเวณที่ต่อเนื่องจะมีการพัฒนาควบคู่กับการอนุรักษ์ เนื่องจากเป็นสถานที่สำคัญและเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ จะทำให้เป็นแลนด์มาร์กการท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม และโบราณสถานของประเทศไทย เหมือนกับถนนฌ็องเซลิเซ่ของประเทศฝรั่งเศส

การจัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ในเบื้องต้นมีแนวคิดจะให้พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นในและชั้นนอกปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เป็นรูปแบบเดียวกัน เช่น ทาสีอาคารเป็นโทนเดียวกันทั้งหมด คือ สีเหลืองอ่อนและสีเทาอ่อน ส่วนสีหลังคาให้เป็นสีน้ำตาลแดงเหมือนกันทั้งหมด

โซนนิ่งที่ดิน-ห้ามอาคารใหญ่

ขณะที่ผังเมือง กทม.อยู่ระหว่างศึกษาและเตรียมการออกกฎกระทรวงเรื่องการกำหนดสถาปัตยกรรมอาคารต่าง ๆ ให้เป็นสถาปัตยกรรมเดียวกัน เช่น สไตล์ยุโรป เนื่องจากพื้นที่ชั้นในมีสถาปัตยกรรมเก่าแก่อยู่จำนวนมาก นอกจากจะคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองรวม กทม.ที่กำหนดให้เป็นพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์เป็นพื้นที่สีน้ำตาลอ่อน หรือเป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย จะควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ให้มีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่

คมนาคมเจรจารถไฟใช้ที่บางซื่อ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เพื่อให้สอดรับกับแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์ และแก้ไขปัญหาเรื่องความแออัดของสถานที่ กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเตรียมหาพื้นที่ย้ายที่ตั้งกระทรวงไปอยู่ที่อื่น เนื่องจากสถานที่ตั้งกระทรวงปัจจุบันบริเวณถนนราชดำเนินแออัดมาก ไม่มีที่จอดรถ สำหรับที่ตั้งใหม่กำหนดขนาดพื้นที่ไว้ไม่น้อยกว่า 10 ไร่ ซึ่งมี 3 ทำเลที่ทางผู้บริหารกำลังพิจารณา

ได้แก่ 1.ที่ดินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ย่านพระราม 9 ที่อนาคตจะมีรถไฟฟ้าสายสีส้มพาดผ่าน 2.ที่ดินของกรมท่าอากาศยาน (ทย.) บริเวณทุ่งมหาเฆม แต่ยังติดปัญหาเรื่องการเข้า-ออกที่ลำบาก และ 3.ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) บนถนนกำแพงเพชร 2 เยื้องกับปัมน้ำมัน ปตท. ซึ่งอยู่ในบริเวณย่านสถานีกลางบางซื่อ ที่ในปี 2563 จะมีรถไฟฟ้าสายสีแดง (ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต) เปิดบริการ รวมถึงเป็นจุดศูนย์กลางการเดินทางด้านระบบราง และรัฐบาล ยังมีแผนจะพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นสมาร์ทซิตี้อีกด้วย

"ตอนนี้ที่เหมาะสมที่สุดคาดว่าจะเป็นย่านบางซื่อ เพราะการเดินทางสะดวก ขณะนี้กำลังเจรจากับการรถไฟฯขอเช่าที่ดินเพื่อก่อสร้าง ล่าสุดกระทรวงได้จ้างทางจุฬาฯออกแบบรายละเอียดอาคารแล้ว" แหล่งข่าวกล่าว

ท่องเที่ยวฯจองศูนย์ราชการ

ขณะที่นายสุพจน์ วงศ์พรหมท้าว โฆษกกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแผนย้ายที่ทำการกระทรวงว่า ทางกระทรวงการท่องเที่ยวฯได้แจ้งความประสงค์ขอใช้พื้นที่โซนซี ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ สำหรับเป็นที่ทำการของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ซึ่งนอกจากส่วนของกระทรวงการ ท่องเที่ยวฯ (ถ.ราชดำเนิน) แล้ว ยังมีส่วน ของกรมการท่องเที่ยว ซึ่งสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ รวมถึงกลมพลศึกษา (บางส่วน) ที่ปัจจุบันอยู่บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ (ถ.พระราม 1) มารวมอยู่ด้วยกันทั้งหมด

ทั้งนี้ ทางกระทรวงได้จัดทำแผนการใช้พื้นที่เบื้องต้นเสนอกรมธนารักษ์ไปเรียบร้อยแล้ว เบื้องต้นแจ้งขอใช้พื้นที่รวม 30,000 ตร.ม. คาดว่าแผนทั้งหมดน่าจะนำเสนอ ครม.อนุมัติได้ภายในปี 2562 และดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2565

"ด้วยภารกิจและความรับผิดชอบ รวมถึงบุคลากรที่มีอยู่ในปัจุบัน ทำให้พื้นที่ทำการของกระทรวงเริ่มคับแคบ ไม่เพียงพอ และมีข้อจำกัดเรื่องของการปรับปรุงเพิ่มเติม จึงต้องหาที่ทำการใหม่ ซึ่งที่ผ่านมาก็ไปดูไว้หลายที่ แต่สุดท้ายคือ พื้นที่อาคารโซนซี ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ที่กำลังเตรียมการก่อสร้าง" นายสุพจน์กล่าว

ททท.หนุนสร้างจุดขายใหม่

สอดคล้องกับที่นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุว่า แผนปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ในโซนเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งจะมีบางกระทรวงต้องย้ายออกจากบริเวณที่ตั้งเดิม เหตุผลเป็นเรื่องของความคับแคบและแออัดเป็นหลัก ส่วนในมิติการท่องเที่ยวหากสามารถบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ได้ดี และสร้างแลนด์มาร์ก ขึ้นมาได้ เชื่อว่าจะทำให้พื้นที่บริเวณนี้ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากขึ้น เหมือนในหลาย ๆ ประเทศที่มีการทำถนนและปรับปรุงพื้นที่ให้คนเดินเที่ยวได้สะดวก

โดยอาศัยความโดดเด่นของถนนและ ย่านต่าง ๆ ในบริเวณนี้ และมีประวัติศาสตร์ ความเป็นมาอันยาวนาน เช่น ชุมชนรอบ ๆ ถนนราชดำเนิน ซึ่งมีความ น่าสนใจทั้งวิถีชีวิตและอาหาร สามารถนำไปเป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยวได้ ที่สำคัญมองว่าแนวทางการปรับปรุง ดังกล่าวนี้จะทำให้ทำเลเกาะรัตนโกสินทร์เป็นแลนด์มาร์กด้านการท่องเที่ยวที่โดดเด่นยิ่งขึ้น

รอไฟเขียวใช้ที่ดินกรมชล

ด้านนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ กระทรวงมหาดไทยอยู่ระหว่างรอการพิจารณาเรื่องการขอใช้ที่ดินสนามกอล์ฟชลประทาน 100 ไร่ จากกระทรวงเกษตรฯ หลังจากทำหนังสือขอใช้พื้นที่สนามกอล์ฟของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เพื่อนำมาใช้เป็นที่ตั้งของกระทรวงมหาดไทยไป ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอความชัดเจนจากกระทรวงเกษตรฯ ว่าจะตอบกลับมาเช่นใด จึงยังไม่ถึงขั้นตอน ของการตั้งงบประมาณในเรื่องย้ายกระทรวง

 
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ