ธปท.ถกเอกชน11.ต.ค.นี้/คุมปล่อยสินเชื่อรอบคอบ หวั่นฟองสบู่อสังหาฯ
Loading

ธปท.ถกเอกชน11.ต.ค.นี้/คุมปล่อยสินเชื่อรอบคอบ หวั่นฟองสบู่อสังหาฯ

วันที่ : 5 ตุลาคม 2561
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลังเปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้เรียกผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นายกสมาคมอาคารชุดไทยนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าหารือมาตรการควบคุมการกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในวันที่11 ต.ค.61 เพื่อหารือให้ได้ข้อสรุปและข้อยุติที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์กับการเดินหน้าเศรษฐกิจประเทศ
        นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลังเปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้เรียกผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นายกสมาคมอาคารชุดไทยนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าหารือมาตรการควบคุมการกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในวันที่11 ต.ค.61 เพื่อหารือให้ได้ข้อสรุปและข้อยุติที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์กับการเดินหน้าเศรษฐกิจประเทศ

          ทั้งนี้ตลาดอย่าเพิ่งไปคาดคะเนกันเองว่า มาตรการจะออกมารุนแรง อยากให้รอดูข้อมูลแต่ละฝ่าย ซึ่งเชื่อว่าเอกชนมีข้อมูลข้อเท็จจริงที่คล้ายกับทาง ธปท.แต่ต้องทำความเข้าใจกัน การส่งสัญญาณของ ธปท.ในเรื่องนี้ถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้ตลาดตื่นตัวและมีความระมัดระวังมากขึ้น

          โดยจากการรายงานข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เชื่อว่าการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังไม่มีความน่ากังวลมาก เนื่องจากปริมาณซัพพลายในตลาดปีนี้ มีน้อยกว่าปีก่อนหน้า ขณะที่ปริมาณการโอนที่อยู่อาศัยสะสมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนยอดการจองยังทรงตัว ไม่พบความผิดปกติ จึงไม่ต้องกังวลอะไร

          ส่วนการคุมการปล่อยสินเชื่อต่อราคาที่อยู่อาศัย (LTV)ควรดูภาวะตลาด เช่นบ้านหลังที่สองก็ปรับ LTV ลดลงได้ และต้องดูคุณภาพสินเชื่อ ภาพรวมหนี้เสีย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยหรือไม่ เพราะLTV ไม่ใช่ตัวชี้วัดคุณภาพสินเชื่อ แต่ต้องดูผู้บริโภคเป็นหลัก ส่วนแนวโน้มการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์พบว่ายังอยู่ในสัดส่วนเฉลี่ย 10% ยังเป็นตัวเลขที่พอรับได้

          สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มขยายตัวดีอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องมีการออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม ส่วนมาตรการคุมสินเชื่อของ ธปท.ต้องรับฟังความเห็นให้รอบด้าน ซึ่งปัจจุบัน ที่อยู่อาศัยแนวราบและการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยหลังแรก ไม่น่าจะมีปัญหา ส่วนกลุ่มคอนโดมิเนียมต้องจำแนกให้ดี เพราะมีลูกค้าที่มีรายได้หลากหลาย และมีราคาขายที่แตกต่างกัน