ธปท.เปิดตัวเลขสินเชื่อแบงก์
Loading

ธปท.เปิดตัวเลขสินเชื่อแบงก์

วันที่ : 14 พฤศจิกายน 2561
นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คุณภาพสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ปีนี้ยังคงตกชั้นเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้นเป็น 2.94% มียอดคงค้างอยู่ที่ 443,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1,250 ล้านบาท หรือ 2.93% จากเอ็นพีแอลบัตรเครดิตเพิ่มอยู่ที่ 2.54% จาก 2.42% และยังคงมีแนวโน้มตกชั้นเพิ่มจากยอดค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน (เอสเอ็ม) เพิ่มเป็น 1.96% จาก 1.89% ในไตรมาสก่อน มียอดคงค้าง 365,000 ล้านบาท
          หนี้เสีย-ค้างชำระปรับขึ้น
          จับตาเอ็นพีแอลลามปี62
          นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คุณภาพสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ปีนี้ยังคงตกชั้นเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้นเป็น 2.94% มียอดคงค้างอยู่ที่ 443,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1,250 ล้านบาท หรือ 2.93% จากเอ็นพีแอลบัตรเครดิตเพิ่มอยู่ที่ 2.54% จาก 2.42% และยังคงมีแนวโน้มตกชั้นเพิ่มจากยอดค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน (เอสเอ็ม) เพิ่มเป็น 1.96% จาก 1.89% ในไตรมาสก่อน มียอดคงค้าง 365,000 ล้านบาท เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์แข่งขันธุรกิจบัตรเครดิตสูง ทั้งร่วมมือพันธมิตรออกบัตรร่วม เร่งออกแคมเปญโปรโมชั่น ทำให้มีผู้ใช้งานบัตรเครดิตเพิ่มมากขึ้น
          นอกจากนี้เอ็นพีแอลยังมาจากสินเชื่อรถยนต์ที่ตกชั้นเพิ่มเป็น 1.57% จาก 1.52% และยังคงมีเอสเอ็มรอตกชั้นเพิ่มจาก 7.25% เป็น 7.32% ในไตรมาส 3 แต่มองว่ายังเป็นภาวะปกติของสินเชื่อรถยนต์ที่เป็นเอ็นพีแอล ซึ่งเมื่อเทียบกับระดับเติบโตสินเชื่อรถยนต์ยังคงไม่สูงมาก เพราะปกติเมื่อลูกหนี้ค้างชำระ 1-2 เดือน ก็จะยึดรถและนำไปขายทอดตลาดก่อนที่ลูกหนี้ราย นั้นจะเป็นเอ็นพีแอล ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอี ยังคงตกชั้นเป็นเอ็นพี แอลต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจจะขยายตัวดีก็ตาม ส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรม การพาณิชย์และอสังหาริมทรัพย์ โดยปกติธุรกิจเอส เอ็มอีจะฟื้นตัวช้ากว่าการขยายตัวเศรษฐกิจ 2-3 ไตรมาส
          "เอ็นพีแอลหลังจากนี้จนถึงปี 62 จะเพิ่มไปถึง 3% หรือไม่ ดูปัจจัยหลายแห่ง ทั้งเศรษฐกิจในปีหน้า และการบริหารจัดการหนี้เสีย"
          สำหรับสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 5.4% ในไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 6.3% สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยสินเชื่อขยายตัวจากสินเชื่ออุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจขยายตัวในหลายประเภทธุรกิจจากธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อเอสเอ็มอีที่วงเงินค่อนข้างสูง ธุรกิจขนาดใหญ่บางส่วนระดมทุนผ่านตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเพื่อบริหารต้นทุนทางการเงิน ส่งผลให้ภาพรวมการระดมทุนผ่านสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์และตราสารหนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 5.6% มาอยู่ที่ 7.1%
          ด้านสินเชื่อธุรกิจขยายตัว 5.2% ปรับเพิ่มขึ้นในหลายประเภท ธุรกิจ โดยเฉพาะจากธุรกิจขนาดใหญ่ในภาคพาณิชย์ และภาคบริการเป็นสำคัญ ขณะที่ภาคธุรกิจบางส่วน ระดมทุนผ่านตราสารหนี้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้โดยรวมสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ขยายตัวที่ 0.6% สำหรับสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอีขยายตัวที่ 7.2% ซึ่งเป็นการขยายตัวจากภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นสำคัญ ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกพอร์ตสินเชื่อมาอยู่ที่ 8.4% โดยสินเชื่อรถยนต์เร่งตัวต่อเนื่องมาอยู่ที่ 12.5% สอดคล้องกับยอดจำหน่ายรถยนต์ที่ขยายตัวดีหลังหมดผลของมาตรการรถยนต์คันแรก และการเร่งระดมทุนของธุรกิจ ให้บริการสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ในช่วงที่ผ่านมา โดยธนาคารพาณิชย์กันเงินสำรองไว้ที่ 652,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 15,400 ล้านบาท.
 
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ